สรุปบทความ

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562



สรุปแบบการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
  
    กิจกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวันหรือ 6 กิจกรรมหลัก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ 2546 มีกิจกรรมดังนี้
1.ปูมีขา(กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ) เด็กจะได้เรียนรู้ว่าปูมีขา 8 ขา มีก้าม 2 ก้าม เกิดการเปรียบเทียบจากการนับนิ้วมือ
2.ต้นไม้ใกล้ตัว(กิจกรรมเสริมประสบการณ์) เป็นการเปรียบเทียบ การนับจำนวนของใบไม้ที่ร่วง จากการศึกษานอกห้องเรียน
3.ใบไม้แสนสวย(กิจกรรมสร้างสรรค์) เป็นการร้อยใบไม้ การพิมพ์ภาพของใบไม้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
4.มุมคณิต (กิจกรรมเสรี) โดยการให้เด็กนำสิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัวเรามาวางให้ตรงกับจำนวนบัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
5.เกมกระต่ายเก็บของ(กิจกรรมกลางแจ้ง)เป็นการเก็บของจากการจัดสิ่งของตามลำดับ 5 สิ่งโดยให้เด็กๆวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบทุกสิ่ง
6.เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหินสองสี มาเรียงตามจำนวนสีให้ตรงกับบัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
  นอกจากนี้เรายังสามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม ไปสอดแทรกในเทคนิคการสอน การนำมาประยุกต์ใช้ และการจัดกิจกรรมตามความต้องการของเด็ก ที่สำคัญเราต้อง เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ให้เด็อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำและง่ายขึ้น

เรื่อง...กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
คุณครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์ โรงเรียนอนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์







สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



อุปกรณ์
1.ฐานรอง เช่น แผ่นไม้
2.เหล็กเส้นเล็กๆที่ไม่แหลม
3.ฝาขวดน้ำแต่ละสี
4.ปากกาหมึกดำ
5.สติ๊กเกอร์แต่ละสี

วิธีทำำ

1.เจาะเหล็กลงไปในแผ่นไม้ให้ครบ10เส้น
2.เขียนตัวเลขกำกับ 1-10 และติดสติ๊กเกอร์ตามสีที่เรากำหนด
3.เจาะรูลงบนฝาขวดน้ำ
4.นำไปทดลองใช้จริง


พัฒนาการของเด็ก

1.ได้เรียนรู้เรื่องจำนวน และใส่ฝาขวดน้ำตามจำนวนที่กำหนดไว้ได้
2.ได้สังเกตและแยกแยะสี



สรุปบทความ

เรื่อง...เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล

คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่ตัวเลข
คณิตศาสตร์ ถือเป็นพื้นฐานวิชาหรือพื้นฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอื่นๆ ในขั้นสูงต่อไปในอนาคต
ซึ่งต้องเข้าใจว่า
คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่ตัวเลขแต่คณิตศาสตร์เป็นตรรกะอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

วิธีเสริมการเรียนเลข ความรู้คณิตศาสตร์ให้ลูกอนุบาล
         
          กลยุทธ์ เรียนรู้จำนวนจากสิ่งของ: การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสด้านต่างๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ อย่างการนับเลขปากเปล่า เด็กจะสามารถนับได้ แต่ไม่รู้ค่าที่แท้จริงของตัวเลข ดังนั้นคุณจึงต้องให้เขาได้นับจากสิ่งของจริงๆ เขาจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าจำนวนแต่ละตัวมีค่าเท่าไร
 
Tip : เขียนเลขบนกระดาษแผ่นใหญ่ แล้วนำสิ่งของที่เด็กๆ ชอบ เช่น หุ่นตัวจิ๋ว คุกกี้ กิฟต์ติดผม เป็นต้น มาชวนกันเล่นเกมวางตามจำนวน โดยนำสิ่งของวางลงตามจำนวนในบัตรภาพ

          กลยุทธ์ สังเกตสร้างทักษะ สิ่งของรอบตัวเด็กๆ สามารถนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องของคณิตศาสตร์ได้ครับ เช่น เรื่องเรขาคณิตอาจดึงรูปทรงของเล่นที่เขาเล่นอยู่มาพูดคุยเรื่องรูปทรง แล้วต่อยอดว่ามีอะไรรอบตัวไหมที่คล้ายกับของเล่นชิ้นนี้ เมื่อเรียนจากของจริงได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจนำภาพจำลองหรือภาพวาดมาประยุกต์ใช้เพื่อสั่งสมการเรียนรู้ เรื่องเรขาคณิตให้ลูกเพิ่มเติม

Tip : นำกล่องนมที่มีรูปทรงต่างๆ เช่น กล่องสี่เหลี่ยมใหญ่และเล็ก ทรงสูงและทรงกว้าง มาชวนเด็กๆ เล่นเกมจัดกลุ่ม โดยจัดกลุ่มกล่องนมแต่ละชนิดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่มีขนาดและรูปทรงที่เหมือนกัน

ผู้เขียน: ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย







สรุปงานวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์




สรุปงานวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

          สรุปได้ว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนับตัวเลขจากการเล่นหรือทำกิจกรรมที่ครูวางแผนให้ในชั้นเรียนโดยให้เด็กมีโอกาสได้ใช้ความคิดค้นคว้าแก้ปัญหาจากประสบการณ์ที่ครูจัดให้เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษคณิตศาสตร์ชั้นสูงต่อไป

          การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัยเป็นการวัดเพื่อพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กต้องทําการวัด อย่างสม่ําเสมอควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนจากที่กล่าวมาข้าง ต้นการวัดและการประเมินทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทําได้หลาย วิธีคือการสังเกตการประเมินค่าแบบทดสอบแฟ้มสะสมผลงานและการ ประเมินสภาพจริงเพื่อดูความสามารถและพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ ของเด็กเพื่อส่งเสริมหรือปรับปรุงในส่วนที่เด็กยังบกพร่องให้มี พัฒนาการอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น